เที่ยวยุโรป เที่ยวบินล่าช้า อย่าลืมเคลมสิทธิ์ที่ควรได้สูงสุด 600 ยูโร
บทความนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลจากสหภาพยุโรป โดย ChaiMiles
เป็นผู้รวบรวมและเรียบเรียง เพื่อนำเสนอข้อมูลการเดินทางเที่ยวสหภาพยุโรป
บทความนี้ไม่ใช่บทความของเจ้าของผลิตภัณฑ์ และไม่ได้รับการสนับสนุนแต่อย่างใด |
ChaiMiles อาจจะได้รับผลตอบแทนจากการคลิก link ในบทความ ขอบคุณที่สนับสนุน
ChaiMiles
1. EU 261/2004 คืออะไร
2. สิทธิ์ของผู้โดยสาร มีอะไรบ้าง
2.1 เที่ยวบินล่าช้า
2.2 เที่ยวบินยกเลิก / เปลี่ยนแปลงเส้นทาง
2.3 อัปเกรด หรือ ดาวน์เกรด
2.4 สถานการณ์ไหนเคลมไม่ได้
3. วิธีการเคลมสิทธิ์
4 .สรุปรายละเอียด
EU 261/2004 คืออะไร
สหภาพยุโรป
ได้มีออกกฎระเบียบเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของผู้โดยสารที่เดินทางทางอากาศในสหภาพยุโรป
ซึ่งบังคับใช้กับ "ทุกสายการบิน" ที่เดินทางออกจากสนามบินในสหภาพยุโรป และ
"ทุกสายการบินของสหภาพยุโรป ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์"
ที่เดินทางเข้าไปยังสหภาพยุโรป
สรุปให้เข้าใจโดยง่าย
เที่ยวบิน | สายการบิน EU | สายการบิน Non-EU |
บินจาก EU ไป EU | คุ้มครอง | คุ้มครอง |
บินจาก EU ไป Non-EU | คุ้มครอง | คุ้มครอง |
บินจาก Non-EU ไป EU | คุ้มครอง | ไม่คุ้มครอง |
บินจาก Non-EU ไป Non-EU | ไม่คุ้มครอง | ไม่คุ้มครอง |
- สายการบินของสหภาพยุโรป ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ จะคุ้มครองทั้งเที่ยวบินขาเข้าและขาออกจากสนามบินในสหภาพยุโรป
- สายการบินอื่นๆนอกเหนือสหภาพยุโรป จะคุ้มครองเฉพาะเที่ยวบินขาออกจากสนามบินในสหภาพยุโรปเท่านั้น (เช่น เดินทางด้วยการบินไทย ออกจากลอนดอน ก็สามารถใช้สิทธิ์ตามกฎระเบียบนี้ได้)
ผู้โดยสารสามารถใช้สิทธิ์ตามกฎระเบียบ EU 261/2004
โดยจองเที่ยวบินผ่านทางไหนก็ได้ (ไม่ว่าจะจองตรงกับทางสายการบิน จองกับ Travel
Agency อย่าง
Expedia
| Traveloka |
Trip.com
หรือแม้แต่การซื้อ Package ทัวร์ รวมถึงการใช้ไมล์แลกตั๋วเครื่องบิน)
รวมถึงสายการบินทั้งแบบ low-cost และ full-service
สิทธิ์ของผู้โดยสาร มีอะไรบ้าง
กฎระเบียบ EU 261/2004 ได้ทำการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิ์ของผู้โดยสารเอาไว้
4 เรื่องด้วยกัน คือ
- เที่ยวบินล่าช้า (Delays)
- การยกเลิก หรือปฏิเสธไม่ให้ขึ้นเครื่อง (Cancellation or Denied Boarding)
- การอัปเกรด หรือดาวน์เกรด ที่นั่ง (Upgrading or Downgrading)
- สถานการณ์พิเศษ (Extraordinary Circumstances)
เที่ยวบินล่าช้า
เที่ยวบินล่าช้า ตามกฎระเบียบของ EU 261 จะมีรายละเอียดสิทธิ์ของผู้โดยสารอยู่ 2
ส่วนหลักๆคือ
- The right to care
- The right to compensation
โดยสาเหตุของการล่าล้า จะต้องไม่ได้เกิดจากสถานการณ์พิเศษ (Extra Circumstances) ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสายการบิน
The right to care จะเป็นส่วนที่สายการบินจะต้องรับผิดชอบดูแล
และอำนวยความสะดวกผู้โดยสารเมื่อเที่ยวบินเกิดการล่าช้าก่อนเครื่องออก (Delay at departure)
เงื่อนไข | สิทธิ์ของผู้โดยสาร |
เที่ยวบินระยะทาง < 1,500 km ล่าช้าตั้งแต่ 2 ชั่วโมง |
Meal & Refreshment |
เที่ยวบินระยะเทาง 1,500 - 3,000 km ล่าช้าตั้งแต่ 3 ชั่วโมง |
Meal & Refreshment |
ล่าช้าตั้งแต่ 4 ชั่วโมง ทุกเที่ยวบิน | Meal & Refreshment |
ล่าช้าข้ามวัน | โรงแรม พร้อมรถรับส่งจากสนามบิน |
ในกรณีที่เที่ยวบินล่าช้ามากกว่า 5 ชั่วโมง ผู้โดยสารมีสิทธิ์ที่จะขอ Refund
เต็มจำนวน เมื่อขอ Refund เต็มจำนวน ทางสายการบินจะไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย
(Compensation) หรือดูแลอำนวยความสะดวก (Assistance)
The right to compensation
คือส่วนที่ผู้โดยสารสามารถใช้สิทธิ์เรียกร้องเงินชดเชยได้ โดยการจะเข้าเงื่อนไขนี้ จะต้องถึงที่หมายล่าช้ากว่ากำหนดไม่น้อยกว่า 3
ชั่วโมง (Delay at arrival)
โดยสาเหตุของการล่าช้าจะต้องไม่ได้เกิดจากทางสายการบิน (การพลาดการต่อเที่ยวบิน
จะทำให้ถึงที่หมายล่าช้ากว่ากำหนด ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มนี้
ระยะทาง | เงินชดเชย |
น้อยกว่า 1,500 km | 250 ยูโร |
มากกว่า 1,500 km (กรณีบินภายในสหภาพยุโรป) |
400 ยูโร |
ระหว่าง 1,500 - 3,500 km | 400 ยูโร |
มากกว่า 3,500 km | 600 ยูโร |
เที่ยวบินยกเลิก / เปลี่ยนแปลงเส้นทาง
ในกรณีที่ผู้โดยสารถูกปฏิเสธการขึ้นเครื่อง หรือสายการบินมีการยกเลิกเที่ยวบิน
(รวมถึงการ โดยแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่า 2 สัปดาห์ สายการบินจะต้องดูแลอำนวยความสะดวก โดยผู้โดยสารมีสิทธิ์ในการเลือก ดังนี้
- คืนเงินค่าโดยสาร ในกรณีที่เป็น Connecting Flight สายการบินจะต้องจัดหาเที่ยวบินกลับสนามบินต้นทางให้
- สายการบินเปลี่ยนเที่ยวบินให้ โดยถึงสนามบินปลายทางเดิมไวที่สุด
- สายการบินเปลี่ยนเที่ยวบินให้ โดยถึงสนามบินปลายทางเดิมในวันถัดไป ขึ้นกับความสะดวกของผู้โดยสาร
แม้ว่าผู้โดยสารจะเลือกรับความช่วยเหลือ 1 ใน 3 ข้อตามด้านบนเรียบร้อยแล้ว
ก็ยังคงได้สิทธิ์ในการเรียกร้องเงินชดเชย (Compensation) เพิ่มเติม
โดยจำนวนเงินที่สามารถเรียกร้องได้ จะขึ้นอยู่กับระยะทางของเที่ยวบิน
โดยสาเหตุของการยกเลิก จะต้องไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์พิเศษ (Extra Circumstances) ที่อยู่เหนืออำนาจควบคุมของสายการบิน
ระยะทาง | เงินชดเชย |
น้อยกว่า 1,500 km | 250 ยูโร |
มากกว่า 1,500 km (กรณีบินภายในสหภาพยุโรป) |
400 ยูโร |
ระหว่าง 1,500 - 3,500 km | 400 ยูโร |
มากกว่า 3,500 km | 600 ยูโร |
เงื่อนไขเพิ่มเติมที่ไม่เข้าข่ายเงินชดเชย
- ในกรณีที่สายการบินแจ้งล่วงหน้า 7 - 14 วัน โดย Offer เที่ยวบินใหม่ให้ และเที่ยวบินใหม่ถึงจุดหมายปลายทางช้ากว่ากำหนดเดิมไม่เกิน 4 ชั่วโมง
- ในกรณีที่สายการบินแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่า 7 วัน โดย Offer เที่ยวบินใหม่ให้ และเที่ยวบินใหม่ถึงจุดหมายปลายทางช้ากว่ากำหนดเดิมไม่เกิน 2 ชั่วโมง
การอัปเกรด หรือ ดาวน์เกรด
ในกรณีที่มีการจองตั๋วเครื่องบิน
และสายการบินไม่สามารถจัดเตรียมที่นั่งตามประเภทที่จองได้
สายการบินจะต้องรับผิดชอบดูแลผู้โดยสารดังนี้
- กรณีอัปเกรด : สายการบินจะต้องไม่มีการเรียกเก็บเงินเพิ่ม
- กรณีดาวน์เกรด : สายการบินจะต้องคืนเงินค่าตั๋ว โดยจำนวนเงินที่คืน จะขึ้นอยู่กับระยะทางของเที่ยวบิน โดยจะต้องคืนเงินภายใน 7 วัน
ระยะทาง | เงินคืน |
น้อยกว่า 1,500 km | 30% ของค่าตั๋ว |
มากกว่า 1,500 km (กรณีบินภายในสหภาพยุโรป) |
50% ของค่าตั๋ว |
ระหว่าง 1,500 - 3,500 km | 50% ของค่าตั๋ว |
มากกว่า 3,500 km | 75% ของค่าตั๋ว |
สถานการณ์พิเศษ
สถานการณ์พิเศษ (Extra Circumstances)
หรือเรียกภาษาบ้านๆว่าเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน อยู่เหนือการควบคุมของสายการบิน
ซึ่งในกรณีที่เกิดเหตุการณ์เหล่านี้
ผู้โดยสารจะไม่สามารถเรียกร้องกับทางสายการบินได้
โดยที่สายการบินจะต้องมีหลักฐานยืนยันในเหตุการณ์เหล่านี้
ตัวอย่างการแยกเคส
เคลมได้ | เคลมไม่ได้ |
สายการบินเกิดปัญหาทางเทคนิค | ปัญหาความปลอดภัยที่ไม่ได้มาจากตัวเครื่องบิน |
พนักงานสายการบินนัดหยุดงาน | ความมั่นคงทางการเมือง |
พนักงานอื่นๆนัดหยุดงาน | |
ปัญหาทางสภาพอากาศ |
ในกรณีที่คิดว่าเหตุการณ์ที่เจอไม่เข้าข่าย
Extra Circumstances
แต่ทางสายการบินปฏิเสธการจ่ายเงินชดเชย ChaiMiles แนะนำให้ใช้บริการของ
AirHelp (บริษัทที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือในการเรียกร้องสิทธิ์
โดยหากสามารถเรียกร้องได้ ทางบริษัทจะหักค่าธรรมเนียมไปบางส่วน)
วิธีการเคลมสิทธิ์
แม้ว่าตามกฎระเบียบ EU 261/2004 จะมีเพื่อรักษาสิทธิ์ของผู้โดยสาร
แต่กฎระเบียบดังกล่าว "ไม่ได้ถูกบังคับใช้โดยอัตโนมัติ" ดังนั้น
เมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สะดวกในการเดินทาง ผู้โดยสารจะต้องกรอกแบบฟอร์ม
และยื่นเรื่องกับสายการบินที่ใช้บริการ โดยสามารถดูรายละเอียด
และช่องทางสำหรับยื่นเอกสารของแต่ละสายการบินได้ที่นี่
สายการบิน | Link เว็บไซต์ |
Air France | อ่านรายละเอียด / โหลดแบบฟอร์ม |
Austrain Airlines | อ่านรายละเอียด / โหลดแบบฟอร์ม |
British Airways | อ่านรายละเอียด / โหลดแบบฟอร์ม |
Cathay Pacific | อ่านรายละเอียด / โหลดแบบฟอร์ม |
Emirates | อ่านรายละเอียด / โหลดแบบฟอร์ม |
Finnair | อ่านรายละเอียด / โหลดแบบฟอร์ม |
KLM | อ่านรายละเอียด / โหลดแบบฟอร์ม |
Lufthansa | อ่านรายละเอียด / โหลดแบบฟอร์ม |
Qatar Airways | อ่านรายละเอียด / โหลดแบบฟอร์ม |
Singapore Airlines | อ่านรายละเอียด / โหลดแบบฟอร์ม |
SWISS | อ่านรายละเอียด / โหลดแบบฟอร์ม |
Thai Airways | อ่านรายละเอียด / โหลดแบบฟอร์ม |
Turkish Airlines | อ่านรายละเอียด / โหลดแบบฟอร์ม |
สรุปรายละเอียด
EU 261 เป็นกฎระเบียบที่ประกาศออกมาตั้งแต่ปี 2004
และถือว่าเป็นสิ่งที่ช่วยคุ้มครองสิทธิ์ของผู้โดยสารได้ดีมากๆ ChaiMiles
ก็คาดหวังว่าสักวันหนึ่ง
ประเทศไทยจะมีกฎระเบียบคุ้มครองสิทธิ์ของผู้โดยสารในประเทศไทยบ้าง