รวมบัตรเครดิตสำหรับเที่ยวต่างประเทศ เลือกบัตรที่ใช่ ไม่ว่าจะเป็นสายสะสมไมล์
เครดิตเงินคืน สะสมแต้ม ใช้ใบไหนดี รูดใบไหนคุ้ม
บทความนี้ ทาง ChaiMiles เป็นผู้รวบรวมและเรียบเรียง ข้อมูลจากทาง Citibank /
UOB / SCB / Aeon / KBANK / KTC / BBL / TTB / First Choice
เพื่อสรุปรายละเอียด สิทธิประโยชน์ของบัตรเครดิต
รวมถึงการเปรียบเทียบข้อมูลกับบัตรเครดิตที่ใกล้เคียงกัน
เพื่อประโยชน์แก่ผู้อ่าน โดยบทความนี้ ไม่ใช่บทความของเจ้าของผลิตภัณฑ์
ChaiMiles อาจจะได้รับผลตอบแทนจากการคลิก Link ในบทความ ขอบคุณที่สนับสนุน
ChaiMiles
1. วิธีเลือกใช้บัตรเครดิต สำหรับเที่ยวต่างประเทศ
2. ค่าความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Bank Fee)
3. Top บัตรเครดิตสำหรับเที่ยวต่างประเทศ
3.1 บัตรเครดิตที่เสียค่า Fee น้อย
3.2 บัตรเครดิตที่ได้รับเครดิตเงินคืน
3.3 บัตรเครดิตสะสมไมล์
3.4 บัตรเครดิตสะสมคะแนน
4. บัตรเครดิต รูดต่างประเทศ ไม่ได้คะแนน
5. สรุปรายละเอียด
บทความนี้จะไม่พูดถึงเรื่องของสิทธิประโยชน์อื่นๆที่มากับตัวบัตรเครดิต
ไม่ว่าจะเป็นสิทธิ์ในการเข้า Airport Lounge / รถรับ-ส่ง สนามบิน /
ประกันการเดินทาง โดยบทความนี้จะทำการเปรียบเทียบเฉพาะในส่วนของคะแนนสะสม
เครดิตเงินคืน เมื่อใช้จ่ายในแต่ละประเทศเท่านั้น
วิธีเลือกบัตรเครดิต เที่ยวต่างประเทศ
การใช้บัตรเครดิตใช้จ่ายเวลาเที่ยวต่างประเทศ
"เป็นสกุลเงินต่างประเทศ" บัตรเครดิตจะอ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนตาม
Visa
หรือ
Mastercard
โดยจะมีค่าความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ทางสถาบันการเงิน Charge เพิ่มเติม
(Bank Fee) ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ 2.5%
(ดูค่าธรรมเนียมที่แต่ละธนาคารคิดตามตารางด้านล่าง)
สำหรับบัตรเครดิตที่เหมาะสำหรับการใช้จ่ายในต่างประเทศ จะแบ่งออกเป็น 4
ประเภทใหญ่ๆด้วยกันคือ
- ไม่เสียค่าธรรมเนียมส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน หรือเสียน้อย
- ได้รับคะแนนสะสมเมื่อใช้จ่ายในต่างประเทศ เป็นสกุลเงินต่างประเทศ
- มีเครดิตเงินคืนเมื่อใช้จ่ายในต่างประเทศ เป็นสกุลเงินต่างประเทศ
- ได้รับคะแนนสะสมเพิ่มขึ้นจากปรกติ เมื่อใช้จ่ายในต่างประเทศ เป็นสกุลเงินต่างประเทศ
การเลือกบัตรเครดิตในการเที่ยวต่างประเทศ
แนะนำให้ดูตามสิทธิประโยชน์ของบัตรเครดิตตาม Lifestyle
และประเทศที่เดินทางไปท่องเที่ยว
(ดูรายชื่อบัตรเครดิตที่ไม่ได้รับคะแนนสะสมในกลุ่มประเทศยุโรป)
สิ่งที่ควรรู้
- บัตรเครดิตของบางธนาคาร จะมีเงื่อนไขยกเว้นการให้คะแนน เมื่อใช้จ่ายในประเทศที่กำหนด โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจในยุโรป
- การใช้บัตรเครดิตในต่างประเทศ ควรรูดเป็นสกุลเงินต่างประเทศ แทนการรูดเป็นสกุลเงินไทยบาท
ค่าความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน บัตรเครดิต
ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2567
บัตรเครดิตที่เสียค่า Fee น้อย
โดยปรกติแล้ว ค่าความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (Bank Fee) จะอยู่ที่ 2.0% - 2.5%
แต่จะมีบัตรเครดิตบางประเภท ที่ให้สิทธิประโยชน์ไม่คิดค่าความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (Bank Fee) หรือคิดเพียง 1%
การใช้บัตรเครดิตประเภทนี้ใช้จ่ายที่ต่างประเทศ จะเสียค่าธรรมเนียมเพียง 0% - 1%
และได้คะแนนสะสมจากการใช้จ่ายที่ต่างประเทศ จึงเป็นบัตรเครดิตที่ใช้ง่าย
สิทธิประโยชน์คุ้ม
*โปรโมชั่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา
*โปรโมชั่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา
บัตรเครดิตที่ได้เครดิตเงินคืน
บัตรเครดิตประเภทเครดิตเงินคืน คือการใช้จ่ายในต่างประเทศตามที่กำหนด
และได้รับเครดิตเงินคืนเข้าบัตรเครดิต
โดยมีบัตรเครดิตที่ให้เครดิตเงินคืนสูงสุดถึง 3%
โดยปรกติแล้ว บัตรเครดิตจะเสียค่าธรรมเนียมความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 3%
ในกรณีที่ใช่บัตรเครดิตและได้รับเครดิตเงินคืน 3%
จึงเปรียบเสมือนได้รับส่วนลดจากการใช้จ่าย 0.5% ซึ่งคุ้มกว่าการใช้เงินสดและ
Travel Card
*โปรโมชั่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา
*โปรโมชั่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา
*โปรโมชั่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา
บัตรเครดิตสะสมไมล์
บัตรเครดิตกลุ่มสะสมไมล์ จะเป็นบัตรเครดิตที่เน้นสะสมคะแนนจากการใช้จ่าย
และเมื่อมีคะแนนมากเพียงพอ ก็จะทำการโอนคะแนนจากบัตรเครดิตไปเป็นไมล์สายการบิน
จากนั้นจึงเอาไมล์สายการบินแลกตั๋วเครื่องบิน Business Class / First Class
การใช้งานบัตรเครดิตสะสมไมล์จะมีความซับซ้อนกว่าปรกติ
เพราะจะต้องเข้าใจวิธีการใช้ไมล์แลกตั๋วเครื่องบินผ่านสายการบินและเส้นทางบินที่เหมาะสม
เปรียบเทียบ ROP vs Asia Miles
การแลกตั๋วเครื่องบิน Business Class กรุงเทพ - โอซาก้า
กรณีที่สะสมเข้า
Royal Orchid Plus ของการบินไทย
จะต้องใช้ 47,500 ไมล์ ในการแลกตั๋วเครื่องบิน "บินตรง" การบินไทย
ซึ่งถ้าคิดเป็นยอดใช้จ่าย ที่ 18 บาท = 1 ไมล์ (UOB Privimiles) จะต้องใช้จ่ายถึง 855,000 บาท
กรณีที่สะสมเข้า
Asia Miles ของ Cathay Pacific
จะใช้เพียง 32,000 ไมล์ ในการแลกตั๋วเครื่องบิน "ต่อเครื่อง" Cathay Pacific
ซึ่งถ้าคิดเป็นยอดใช้จ่าย ที่ 18 บาท = 1 ไมล์ (UOB Privimiles) จะต้องใช้จ่าย 576,000 บาท
ในการใช้จ่ายประมาณ 1.2 ล้านบาท ถ้ารูดผ่าน
UOB Privimiles
สามารถโอนคะแนนไปเป็น
Asia Miles
เพื่อแลกตั๋วเครื่องบิน Business Class ของ Cathay Pacific ไปกลับ กรุงเทพ -
โอซาก้า ได้ 1 ที่นั่ง
แต่สำหรับการสะสมเข้า
Royal Orchid Plus
ในการใช้จ่ายเท่ากันที่ จะสามารถแลกตั๋วเครื่องบิน Business Class
ของการบินไทย เส้นทาง กรุงเทพ - โอซาก้า ได้เพียง 1 เที่ยวบิน เท่านั้น
UOB Krisflyer World Elite | สิทธิประโยชน์ที่น่าสนใจ | |
รายได้ 50,000 บาท / เดือน | บัตรเครดิตร่วมระหว่างธนาคารยูโอบี และสิงคโปร์แอร์ไลน์ ซึ่งเป็นบัตรเครดิตร่วมใบแรกของประเทศไทยที่ร่วมกับ Krisflyer สิทธิประโยชน์ที่น่าสนใจ
ถ้าชอบเที่ยวต่างประเทศ บัตรเครดิต UOB Krisflyer World Elite คือใบที่ต้องมีติดกระเป๋า | |
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม | Welcome Offer | Annual Fee |
สมัคร UOB Krisflyer World Elite | ปีแรก 5,000 บาท ปีถัดไป 10,000 บาท |
*โปรโมชั่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา
**เมื่อมียอดใช้จ่ายครบตามที่กำหนด
*โปรโมชั่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา
*โปรโมชั่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา
บัตรเครดิตสะสมคะแนน
กลุ่มบัตรเครดิตสะสมคะแนน จะเน้นไปที่การสะสมคะแนนจากการใช้จ่าย
โดยนำคะแนนสะสมไปแลกเป็น Voucher หรือ ส่วนลดต่างๆ
สำหรับบัตรเครดิตสะสมคะแนน ที่เหมาะสำหรับการใช้จ่ายต่างประเทศ
จะเป็นบัตรเครดิตที่ได้รับคะแนนสะสมเพิ่มเติม เมื่อใช้จ่ายในต่างประเทศ
(เป็นสกุลเงินต่างประเทศ) และบัตรเครดิตที่ให้คะแนนสะสมสูงสุดถึง 5
เท่าอย่างบัตรเครดิต Citi Rewards ก็สามารถสมัครได้ด้วยรายได้ต่อเดือนที่ 15,000
บาท เท่านั้น
*โปรโมชั่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา
*โปรโมชั่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา
*โปรโมชั่นอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา
บัตรเครดิต รูดประเทศไหน ไม่ได้คะแนน
ในการเลือกบัตรเครดิตสำหรับใช้จ่ายต่างประเทศ
นอกจากสิทธิประโยชน์ของแต่ละบัตรเครดิตแล้ว
ยังต้องดูเรื่องของข้อยกเว้นของแต่ละบัตรเครดิต
บัตรเครดิตบางประเภท จะไม่ได้รับคะแนนสะสมจากการใช้จ่ายในบางประเทศ
ซึ่งจะทำให้เราเสียผลประโยชน์ค่อนข้างมาก
บัตรเครดิตใบไหน ใช้จ่ายต่างประเทศแล้วไม่ได้คะแนน
ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2023
สรุปรายละเอียด
ChaiMiles ยังคงเลือกใช้บัตรเครดิตมากกว่า Travel Card อย่าง SCB Planet /
YouTrip / Krungthai Travel Card / TTB All Free / Citi Global Wallet
ด้วยเหตุผลง่ายๆ 3 ข้อ
- ไม่ต้องใช้เงินสด
- คะแนนสะสมจากบัตรเครดิตบางประเภท มีค่าเทียบเท่า หรือมากกว่า ค่าความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Bank Fee) 2% - 2.5%
- เวลาเกิดปัญหาจากการใช้จ่าย การขอ Refund ยอดจากบัตรเครดิตจะง่ายกว่าบัตร Travel Card
สำหรับคนใช้จ่ายในต่างประเทศไม่มาก
การเลือกบัตรเครดิตประเภทเครดิตเงินคืน หรือ สะสมคะแนน
จะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะบัตรเครดิตหลายๆประเภท มักจะให้เครดิตเงินคืนสูง
แต่ใช้การจำกัดยอดเครดิตเงินคืนต่อรอบบิล
สำหรับคนที่รายได้สูง ไม่ชอบความวุ่นวายในการสะสมไมล์ หรือแลกคะแนน
บัตรเครดิต TTB Absolute (ค่าธรรมเนียมอัตราแลกเปลี่ยน 1%) หรือ บัตรเครดิต
TTB Reserve ที่ไม่เสียค่าธรรมเนียมจะตอบโจทย์ที่สุด
สำหรับคนที่ใช้จ่ายสูง เดินทางต่างประเทศบ่อย
บัตรเครดิตสะสมไมล์จะให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด
และ 1 ในบัตรเครดิตสะสมไมล์ที่เหมาะสำหรับการใช้จ่ายต่างประเทศมากที่สุดก็คือ
Citi Prestige
สำหรับคนที่ใช้บัตรเครดิตทั่วไปในประเทศไทย สามารถดู
"สรุปบัตรเครดิตประเภทต่างๆที่ควรมีได้ที่นี่"
มีบัตร Citi Premier อยู่ ใช้เป็นบัตรหลักในไทย อยากทราบว่าการที่โดนชาร์จ 2.5% ตอนรูดสกุลต่างประเทศ แต่ได้คะแนน x2 มันคุ้มไหมครับ ผมไม่รู้ว่าคะแนน Citi มันเอาไปใช้อะไรได้บ้างที่เทียบเท่าหรือคุ้มกว่าโดนชาร์จ 2.5% ปัจจุบันสั่งของออนไลน์เป็นสกุล USD, EUR บ่อย มี JPY บ้างประปราย ใช้แต่ KTB Travel Card ครับ ก่อนหน้านี้เคยสั่งของสกุล USD ด้วยบัตร SCB Planet แต่ไม่ได้รับของ call center ของ SCB ไม่ช่วยอะไรเลย เสียเงินฟรี คิดว่าอยากเปลี่ยนมาใช้บัตรเครดิตเพราะน่าจะปกป้องตัวเองได้มากกว่าแต่ยังเสียดาย 2.5% ครับ ควรใช้ใบไหนดี
ReplyDeleteใช้บัตรเครดิตต่างประเทศ ทำ Citi Prestige เพิ่ม จะคุ้มกว่า Citi Premier เยอะเลย
Deleteถ้าใช้บ่อยอย่าง JPY แนะนำทำ SCB CardX JCB รูด JPY โดยเฉพาะ ได้เครดิตเงินคืน 3% + คะแนนสะสมเข้าบัตร
ผมจะไปเรียนต่ออังกฤษ ใช้จ่ายผ่านบัตรประมาณ 3-4 หมื่นบาท ตัวไหนคุ้มสุดหรอครับ
ReplyDeleteถ้าใช้จ่ายต่างประเทศประจำเดือนละ 3-4 หมื่นบาท แนะนำดู Citi Prestige เหมาะสำหรับสะสมไมล์แลกบินเที่ยวใน Europe ได้ครับ
Deleteผมติดปัญหาเรื่องไม่มีงานประจำครับ+เงินฝากไม่ถึงล้าน แล้วciti เค้าไม่รับเลย แต่ uob,scb and krungsri รับครับ มีตัวไหนแนะนำรองลงมาบ้างครับ
Deleteถ้ามียอดใช้จ่ายในประเทศปีละ 300,000-400,000 บาท ทำบัตร citi prestige หรือ uob privimile จะคุ้มมั้ยครับ มีบัตร priority pass จากบัตรเสริมครับ
ReplyDeleteแล้วหากทำ uob privimile เป็นบัตรหลัก พร้อมกับทำ citi prestige เพื่อเอาคะแนน welcome offer จะมีข้อเสียยังไงมั้ยครับ welcome offer ของ citi prestige ดูน่าสนใจดีแต่ บาท/ไมล์ สูงกว่าของ uob privimile ครับ
ถ้ามีบัตร Priority Pass อยู่แล้ว และเน้นรูดในประเทศ แนะนำให้ใช้ UOB Privimiles มากกว่า Citi Prestige ครับ
Deleteถ้าจะสมัคร Citi Prestige เพื่อเอา Welcome Offer ก็ยังคุ้มอยู่ครับ เพราะมีแถมพวก Limousine มาด้วย
เดี๋ยวปลายปีเค้าจะรวมกันแล้ว จุดเด่นที่ Citi Prestige เคยโอนได้หลายสายการบินกว่า UOB Privimiles อาจจะหายไป พอเรทคะแนนด้อยกว่าแบบนี้ ก็เลยแนะนำเข้า UOB Privimiles จะคุ้มกว่า
สอบถามคะ เพราะอะไร ถึง แนะนำให้ การใช้บัตรเครดิตในต่างประเทศ ควรรูดเป็นสกุลเงินต่างประเทศ แทนการรูดเป็นสกุลเงินไทยบาท ,และรบกวน ขอวิธีคิดเงินที่ต้องจ่าย ให้กับบัตรเคดดิต ของทั้ง 2 วิธี ( 1.รูดเป็นเงินสกุลเงินต่างประเทศ 2. รูดเป็นสกุลเงินบา ท ขอบคุณมากๆคะ 😊😊
ReplyDeleteเวลาใช้จ่ายที่ต่างประเทศ ตัวเครื่องมักจะมีให้เลือกว่า
Delete- สกุลเงินท้องถิ่น (สกุลต่างประเทศ)
- สกุลเงินบัตรเครดิต (ไทยบาท)
ซึ่งส่วนใหญ่ อัตราแลกเปลี่ยนเป็นใช้แปลงเป็นสกุลเงินบาทจะแย่กว่า VISA / Mastercard
1. การเลือกตัดเงิน ตปท. หลายๆครั้งพอบัตรเครดิตเรียกเก็บเงินเป็นไทยบาท จะถูกกว่าการตัดบาทแต่แรก
2. การเลือกตัดเงิน ตปท. บัตรเครดิตชอบมีโปรคะแนนสะสมพิเศษ / เครดิตเงินคืน / รับโบนัสคะแนนเพิ่มเติม ทำให้ได้คะแนนเยอะกว่า
เป็นแอร์สายแขกค่ะ ปกติถ้าไปต่างประเทศจะได้ส่วนลดตั๋วของพนักงานอยู่เเล้ว ยกเว้นเเต่ว่าไปเที่ยวกับครอบครัวบ้างจะจ่ายเต็มกับสายการบินอื่นๆค่ะ แล้วก็จะมีซื้อของที่ต่างประเทศ +ชอบไปญี่ปุ่นเล่นสกีค่ะ แอดมินเเนะนำบัตรไหนดีคะ มีสนใจ Citi prestige กับ amex ค่ะ หรือแอดมินมีเเนะนำบัตรตัวอื่นมั้ยคะ
ReplyDeleteแต่จากที่แอดมินเขียน ตัว Citi Rewards ก้น่าสนใจมั้ยคะ เพราะใช้จ่ายต่างประเทศได้คะเเนนคูณ 5 เลย
Deleteใช้จ่ายต่างประเทศเป็นหลัก แบบนี้ Citi Prestige เลยครับ คุ้มที่สุด
Deleteส่วนเที่ยวญี่ปุ่นมีบัตร CardX JCB เครดิตเงินคืน 3%
มีอัพเดทยกเว้นคะแนน ใช้ที่ประเทศจีนไหมครับ
ReplyDelete